ประวัติความเป็นมา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี เริ่มเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2538 โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี เพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ในปีการศึกษา 2567 จัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3-4 เป็นหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาการพยาบาล ในการรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ พิเศษ/2561 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 และผ่านการพิจารณาความสอดคล้องและรับทราบหลักสูตรจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาในระบบรายงานข้อมูลหลักสูตร CHE CO เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2562 และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) จัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-2 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาการพยาบาลในการรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 และ สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ พิเศษ/2566 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566
นโยบาย
คณะพยาบาลศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ และสถาบันการอุดมศึกษา โดยยึดหลักการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ ตามภารกิจหลักสำคัญของสถาบันการศึกษา คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการ การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีระบบและกลไกการบริหารองค์กรที่สร้างการมีส่วนร่วมและใช้หลักธรรมาภิบาล การพัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะการทำงานเป็นทีม มีบุคลิกภาพอาจารย์ ใช้หลักการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นฐาน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษา
วัตถุประสงค์
- ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลให้มีคุณภาพมาตรฐาน
- เสริมสร้างนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตผู้ครองตนอย่างมีคุณธรรมและเป็นผู้นำที่มีคุณภาพของวิชาชีพ
- ให้การสนับสนุนร่วมมือและทำการวิจัย และนำผลงานวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
- ให้บริการวิชาการด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน องค์กร และชุมชนในท้องถิ่น
- ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในสังคม
วิสัยทัศน์
พันธกิจคณะพยาบาลศาสตร์
- ผลิตบัณฑิตทางการพยาบาลให้สามารถเป็นได้ทั้งนักบริหารนักวิชาการ และนักบริการ เป็นคนดี คนเก่ง และมีเจตคติที่ดี
- พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ
- ทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการพยาบาลและนำผลการวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน
- นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและบริการวิชาการ
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมและประชาชนทุกระดับ โดยเน้นการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ แก่ผู้สูงวัย รวมทั้งเด็กและเยาวชน
- สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาพยาบาล หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- อนุรักษ์ ส่งเสริมและดำรงไว้ ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
ปรัชญา : เป็นเลิศทางวิชาการ เป็นบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณธรรม
ปณิธาน : คณะพยาบาลศาสตร์มีปณิธานที่สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัย ถ่ายทอดความรู้ ควบคู่กับการสร้างเสริมคุณธรรมและสติปัญญาให้บัณฑิตพยาบาลเป็นผู้เพียบพร้อมทั้งด้านคุณธรรม มีความรู้ความชำนาญเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลการป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชนตามความต้องการของประเทศ
ปรัชญาการศึกษา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี เชื่อว่า การพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อดูแลสุขภาวะของผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคล ครอบครัว และ ชุมชนทั้งในภาวะสุขภาพดีและเจ็บป่วย โดยเน้นการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมกาย จิต อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง เน้นประสบการณ์ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นำผลการวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการปฏิบัติงาน มีความเอื้ออาทร ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล พร้อมที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการ ของท้องถิ่นและสังคม
อัตลักษณ์บัณฑิต
"บัณฑิตราชธานีเป็นผู้นำ มีความรู้ควบคู่คุณธรรม"
Role modeling: การเป็นแบบอย่างที่ดี
Teamwork: การทำงานเป็นทีม
Understanding digital system: ความเข้าใจระบบดิจิทัล